Neogence เวชสำอางยอดนิยมจากประเทศไต้หวัน เผื่อผิวของผู้หญิงเอเชียโดยเฉพาะ

เคยได้ยินคำว่าเวชสำอางกันบ้างหรือเปล่า ?
แล้วเวชสำอางต่างจากเครื่องสำอางปกติอย่างไร หลาย ๆ คนอาจเคยตั้งคำถาม

เวชสำอางแตกต่างจากเครื่องสำอางตรงที่สามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างผิวหนังได้ ยกตัวอย่างถ้าเป็นครีมที่เป็นเครื่องสำอางปกติ ทาลงไปแล้วจะเกิดความชุ่มชื้น แต่ก็แค่ชั่วคราวเท่านั้น ซักพักน้ำหล่อเลี้ยงในผิวก็จะระเหยไป ผิวก็กลับมาแห้งอีกครั้ง ในขณะที่ครีมที่เป็นเวชสำอางจะช่วยปรับโครงสร้างของเซลล์ผิวทำให้สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นได้ดียิ่งขึ้น เมื่อใช้เป็นประจำผิวของเราก็จะนุ่มชุ่มชื้นอย่างเป็นธรรมชาติ ริ้วรอยลดลง

หรืออย่างถ้าเป็นครีมกันแดดทั่วไป ก็จะสามารถปกป้องแสงแดดได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าเป็นครีมกันแดดที่เป็นเวชสำอางจะสามารถปกป้องผิวจาก UV ได้อย่างแท้จริง เมื่อใช้เป็นประจำก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องฝ้าและผิวหมองคล้ำ

เวชสำอางจะต้องอยู่ในการควบคุมดูแลและผลิตโดยทีมแพทย์ผิวหนังและนักวิจัย เพื่อให้ได้เวชสำอางที่ปลอดภัยและให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ

จะว่าไปเมืองไทยก็มีเวชสำอางจำหน่ายอยู่หลายยี่ห้อ หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีแผนกยา แต่ส่วนใหญ่จะเป็นยี่ห้อฝรั่ง ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าทีมผู้พัฒนาย่อมเป็นฝรั่งไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ผิวหนัง นักวิจัย โดยที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาก็เพื่อให้เหมาะกับสภาพผิวของคนยุโรปหรืออเมริกา

แต่ล่าสุด Neogence ผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากประเทศไต้หวัน เปิดตัวแล้วในประเทศไทย ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยโดยทีมแพทย์ผิวหนังและนักวิจัยชื่อดังชาวไต้หวัน เพื่อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับสภาพผิวของคนเอเชียโดยเฉพาะ และซีซั่นล่าสุดได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 3 ซีรีส์ ได้แก่ UV Protection, Pore Solution, Cleansing และ BB Cream ผลิตภัณ์ที่กำลังมาแรงและเหมาะกับสภาพผิวคนเอเชียและสภาพอากาศในบ้านเรา


ตัว UV Protection และ BB Cream การันตีผลลัพธ์ที่น่าพอใจโดยเมคอัพอาร์ทิสชื่อดัง อย่างคุณป้อม วินิจ บุญชัยศรี รวมถึงคุณอรชุมา ดุรงค์เดช ก็ประทับใจในผลิตภัณฑ์ของ Neogence




สนในในผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่ผลิตขึ้นเพื่อผู้หญิงเอเชียโดยเฉพาะ หรืออยากพูดคุยกับผู้เชี่วชาญด้านผิวพรรณ สามารถติดตามได้ที่ http://www.skingrow-neogence.com/ และ https://www.facebook.com/NeogenceThailand




บทสรุป One Eye One Help เจตนาดี แต่ขาดความชัดเจน อีกหนึ่งบทเรียนในการสื่อสารที่ผิดพลาดผ่าน Social Media

บทสรุป One Eye One Help เจตนาดี แต่ขาดความชัดเจน อีกหนึ่งบทเรียนในการสื่อสารที่ผิดพลาดผ่าน Social Media


ถือเป็น Case Studies ที่สำคัญสำหรับการใช้ Social ในเมืองไทย สำหรับการระดมทุนเงินบริจาคที่กำลังเป็น Talk of the town อยู่ในขณะนี้ โดยการแชร์รูปตาผ่าน ทาง Instagram โดย 1 แชร์ สามารถเปลี่ยนเป็นเงิน 10 บาท ในโครงการ One Eye One Help

เพราะพอเริ่มมีคนในวงการบันเทิงเริ่มแชร์ภาพ กระแสก็แรงแบบฉุดไม่อยู่แล้ว
OneEyeOneHelp

OneEyeOneHelp

จะว่าไปแล้วเพียงระยะเวลาไม่กี่วัน การแชร์รูปดวงตาผ่าน Instagram ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว
หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าแล้วเงินบริจาคที่ว่าจะมาจากไหน จนเป็นที่มาของการสืบหาความชัดเจนและที่มาที่ไปของโครงการในช่วงที่ผ่านมา (ทั้งที่ก่อนหน้านั้น หลายคนแชร์โดยไม่ฉุกคิด เพราะอย่างที่รู้กันว่าคนไทยใจดีและชอบทำบุญ แค่แชร์รูปภาพผ่าน Instagram ไม่ใช่เรื่องลำบากอะไร)

สามารถตามอ่านเรื่องราวก่อนหน้านี้ได้ที่ คนไทยใจดี กับกระแสทำบุญและการระดมทุนผ่านสื่อออนไลน์ #OneEyeOneHelp

ทีนี้พอหลาย ๆ คนตั้งข้อสงสัยเรื่องแหล่งเงินบริจาคและสอบถามไปยัง Instagram ของน้อง ๆ ผู้ริเริ่มโครงการ One Eye One Help กลับไม่ได้รับคำตอบแต่อย่างใด จนกระทั่งมี blogger หลาย ๆ ท่านโทรศัพท์ไปสอบถามความแน่ชัดของโครงการกับทาง KIS International School ซึ่งทาง KIS International School ไม่ได้เป็นผู้จัดโครงการนี้และไม่ทราบรายละเอียด รู้แต่เพียงว่าเป็นโปรเจคของนักเรียนเกรด 8 ที่ทำในชั้นเรียน Community and Service

พอกระแสท้วงถามถึงความชัดเจนของโครงการนี้แรงขึ้น ปรากฎว่าไม่นานนัก Instragram ของ @mmmami ก็ได้ขึ้นภาพขอยุติกิจกรรมเนื่องจากครบตามเป้าหมายแล้ว !!!??? ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีการพูดถึงเป้าหมายของโครงการแต่อย่างใด นอกจากประเด็นการแชร์รูปดวงตาผ่าน Instagram แลกกับเงินบริจาค 10 บาทต่อ 1 ภาพ


รายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการ One Eye One Help ยังคงมืดมัว เพราะไม่ว่าใครสอบถามไปยัง Instagram ของทางทีมงานของโครงการก็ไม่ได้รับคำตอบใด ๆ  และเมื่อเพจดังอย่าง Drama addict นำเรื่องราวเกี่ยวกับ คนไทยใจดี กับกระแสทำบุญและการระดมทุนผ่านสื่อออนไลน์ #OneEyeOneHelp ไปลงในเพจ ก็เหมือนจะเป็นการปลุกกระแสเรื่องนี้ให้คนหันมาสนใจมากขึ้น

ก่อนหน้านี้เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงคลางใจว่าเงินบริจาคจะมาจากไหน แต่เพราะการแชร์ภาพดวงตาและติด hashtag #OneEyeoneHelp ทำได้ไม่ยาก  จึงทำให้การแชร์ภาพดวงตาผ่าน Instragram เกิดเป็นกระแสอันรวดเร็ว แต่พอมีคนสอบถามไปทางสถานสงเคราะห์บ้านเด็กอ่อนพญาไท จนเป็นที่มาของภาพที่แชร์กันอยู่ล่าสุดเกี่ยวกับ โครงการ OneEyeoneHelp

OneEyeOneHelp

หลังจากนั้นไม่นาน คุณ @kaii888 ได้เข้ามาชี้แจงใน Instagram ของ @mmmami ว่ากิจกรรมนี้มีอยู่จริงเพียงแต่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในชั้นเรียนเท่านั้น และที่สำคัญเงินบริจาคก็ไม่ได้มาจากสปอนเซอร์แต่อย่างใด แต่เป็นเงินของเด็กนักเรียนเองที่ได้จากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ และบางส่วนสมทบทุนมาจากผู้ปกครองของเด็ก ๆ   (อ่านกันได้จากภาพที่เซฟมานะครับ)

แต่เชื่อว่าการที่คุณ @kaii888 บอกว่าทางโรงเรียนรับทราบเรื่องราวเกี่ยวกับกิจกรรมนี้เป็นอย่างดี คงไม่ใช่เรื่องจริงแน่ ๆ และมัั่นใจว่าคุณ @kaii888 คงยังไม่ได้ฟังคลิปเสียงการสนทนาของทีมงาน catmint.in.th กับทาง KIS International School ยังไงคุณ @kaii888 มีโอกาสเข้ามาอ่าน blog หรือคนที่อยากทราบรายละเอียดลองไปฟังคลิปเสียงกันได้นะครับ ฟังดูแล้วจะทราบว่าทาง KIS International School พยายามแบ่งรับแบ่งสู้ และกำลังหาทางรับมือกับปัญหานี้อยู่

https://soundcloud.com/catmintinth/oneeyeonehelp-clarification

ขอบคุณคลิปเสียงจาก catmint.in.th

OneEyeOneHelp

คำตอบเมื่อออกมาในรูปแบบนี้ถึงแม้จะไม่ชัดเจนนัก แต่ก็สามารถสรุปได้ว่า โครงการ OneEyeoneHelp เป็นเพียงกิจกรรมของเด็ก ๆ ที่จัดขึ้นมาเป็นการภายในเท่านั้น เงินทุกบาทสำหรับโครงการนี้ก็มีการจัดหาไว้เรียบร้อย ซึ่งคือเงินของเด็ก ๆ เองและส่วนหนึ่งสมทบจากผู้ปกครอง  ไม่ได้มีสปอนเซอร์ใหญ่หรือแบรนด์ใดสนับสนุนอย่างเป็นทางการ โดยมีการตั้งงบประมาณไว้ที่ 100,000 บาท และเป็นเพียงโครงร่างของโครงการเท่านั้น ทาง KIS International School ไม่ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมแต่อย่างใด และทางสถานสงเคราะห์บ้านเด็กอ่อนพญาไทก็ไม่ทราบรายละเอียดของโครงการนี้ เนื่องจากยังไม่มีใครติดต่อเข้าไปอย่างเป็นทางการ มีเพียงการติดต่อเข้าไปเพื่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น เหมือนกับเวลาที่เรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายต้องการไปบริจาคของหรือเลี้ยงอาหารตามมูลนิธิต่าง ๆ ก็จะโทรเข้าไปก่อนเพื่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ  (ดังที่กล่าวไว้แล้วว่าเป็นเพียงโครงร่างของโครงการเท่านั้น)

 การที่โครงการนี้เป็นเพียงโครงร่าง แต่ถูกเผยแพร่ผ่าน Instagram และได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีโดยไม่มีการชี้แจงรายละเอียดที่ชัดเจน ทำให้การแชร์ภาพดวงตากลายเป็นเหมือนจดหมายลูกโซ่ เพราะคนต่างแชร์ภาพไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่รู้ว่าเงินบริจาคจะมาจากไหน และเป้าหมายของโครงการตั้งไว้อย่างไร

 แต่จุดที่ข้องใจคือทำไมนักเรียนหรืออาจารย์ที่ปรึกษาของโครงการ One Eye One Help  ไม่ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดให้ชัดเจนตั้งแต่แรก และปล่อยให้สังคมตั้งคำถาม จนเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบ ซึ่งถึงแม้จะมีเจตนาดี  แต่ก็ทำให้เกิดข้อกังขาในสังคม หรือกำลังต้องการอะไรกันแน่?

กรณีกิจกรรมขอ Like เพื่อจัดกิจกรรมมีให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ขอยกกรณีของคุณตัน Ichitan ที่มีการขอ Like จากลูกเพจ แต่ก็มีการแจ้งชัดเจนว่าถ้าได้ 5 แสนไลค์ จะได้เป็นเงิน 100 ล้านจากคุณภรรยา เพื่อพาลูกค้าอิชิตันไปเที่ยวฮอกไกโด


หรืออย่างกรณีขอ Like เพื่อแลกกับ 1 บาท เพื่อเป็นเงินบริจาค สุดท้ายแล้วก็เป็นเรื่องลวงลวงก็มีให้เห็นบ่อย ๆ ถึงขนาดเพจดังอย่าง Drama-addicr เคยเอามาลงไว้แล้ว ไลค์ช่วยโลก!!!

ไม่อยากให้มิจฉาชีพใช้ความใจดีของคนไทยเป็นช่องทางเอาเปรียบคนในสังคม เหมือนกรณีการระดมทุนใน pantip.com เพื่อช่วยเหลือคุณแม่ผู้ประสบเคราะห์จากภัยธรรมชาติ ที่สุดท้ายก็กลายเป็นเคสลวงโลก จน Drama-addict เอามาลงไว้อีกเช่นกัน เคสลวงโลกคุณแม่ผู้ยากไร้

ตัวอย่างการใช้ Social Media ในการระดมทุนเงินบริจาคเพื่อใช้ในโครงการรักษ์แมว ปันน้ำใจให้แมวจร 
สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือแมวจรจัด ซึ่งทางโครงการฯ มีการดำเนินงานและบริหารเงินบริจาคแบบชัดเจน ไม่มีหมกเม็ด

กรณีของเด็กเกรด 8 ของ KIS International School จะบอกว่าเป็นเคสลวงโลกก็ไม่สามารถพูดได้เต็มปาก เพราะมีการทำโครงร่างของโครงการนี้ขึ้นมาในชั้นเรียน แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ประเด็นอยู่ที่การนำเรื่องนี้ออกมาแชร์ใน Social Media โดยไม่แจ้งความชัดเจนของโครงการ  เช่น แหล่งที่มาของเงินบริจาค หรือจำนวนยอดการแชร์ที่จะตั้งเป็นลิมิทไว้ ทำให้เกิดข้อกังขาในสังคมถึงความชัดเจนของโครงการ

แต่ถ้าจะให้บอกว่าเป็นโครงการที่เกิดขึ้นจริงก็ไม่สามารถพูดได้ เนื่องจากไม่มีการติดต่อใด ๆ ไปทางสถานสงเคราะห์บ้านเด็กอ่อนพญาไทอย่างเป็นเรื่องเป็นราว

สิ่งที่เกิดขึ้นและสังคมรับทราบคือการแชร์ภาพดวงตาผ่าน Instragram เพื่อแลกกับเงินบริจาคภาพละ 10 บาทให้กับสถานสงเคราะห์บ้านเด็กอ่อนพญาไท เรื่องราวดี ๆ แบบนี้ใครจะไม่อยากร่วม ???

เรื่องนี้ถือเป็น Case Studies ที่ต้องจำไว้เป็นบทเรียนสำหรับคนที่จะใช้ Social Media เป็นช่องทางในการกิจกรรมต่าง ๆ เพราะสังคมคอยจับตาและคอยตั้งคำถามถึงความถูกต้อง หากคิดจะใช้ Social Media เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรม ความชัดเจนถือเป็นประเด็นที่สำคัญมาก และยิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการระดมทุนเงินบริจาค เชื่อว่ามีหลาย ๆคนจับตามองอยู่ เพราะไม่อยากให้มิจฉาชีพใช้วิธีนี้เป็นช่องทางทำมาหากิน

โครงการ One Eye One Helpจะไปต่อว่าเด็กเรื่องเจตนาดีที่คิดโครงการนี้ขึ้นมาก็ไม่เหมาะสมนัก ยิ่งพอรู้ว่ามีผู้ใหญ่รับทราบความเป็นไปแต่กลับไม่ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง คนที่ควรถูกตำหนิเป็นอย่างยิ่งคือผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ถ้าจะจัดกิจกรรมแบบระดมทุนกันเองเป็นการภายในแบบนี้แล้วไปทำบุญ ควรหรือไม่ที่จะต้องเอามาแชร์ให้เกิดเป็นกระแสและกลายเป็นข้อกังขาใน Social Media !!!???

ไม่อยากให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ One Eye One Help เล่นกับความรู้สึกของคนในสังคมแบบนี้ เพราะอาจทำให้ผู้ที่ต้องการระดมทุนเพื่อหาเงินบริจาคสำหรับกิจกรรมดี ๆผ่าน Social Media ต้องพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย เนื่องจากสังคมจะคอยตั้งคำถามถึงความชัดเจนของแต่ละโครงการ

มิจฉาชีพที่ปลอมตัวแฝงอยู่ในสังคมนี้มีอยู่มากมาย อย่าเปิดโอกาสหรือทำให้พวกเขาเหล่านั้นหากินกับความรู้สึก ดี ๆ ของผู้คนในสังคมไทยเลย

ถึงเจตนาจะดี แต่สังคมก็ต้องการความชัดเจน!
ส่วนกิจกรรม  One Eye One Help จะนำเงิน 100,000 บาท ไปบริจาคให้กับมูลนิธิบ้านเด็กอ่อนพญาไทหรือไม่ เป็นหน้าที่ของสังคมที่จะต้องคอยติดตาม ไม่อย่างนั้นการแชร์ภาพดวงตาผ่าน Instagram ก็จะเป็นเหมือนจดหมายลูกโซ่ที่เด็กเลี้ยงแกะเล่นกันสนุก ๆ ในหมู่เพื่อนโดยมีผู้ใหญ่รู้เห็นเป็นใจก็เท่านั้นเอง


มีการชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ One Eye One Help ผ่านทาง Instagram ของ @mmmami โดยคุณ @pikularoon ซึ่งสามารถตอบคำถามที่สังคมกำลังตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการนี้ได้ดีทีเดียว และเชื่อว่าหากมีการชี้แจงรายละเอียดแบบนี้ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ สังคมคงไม่วิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบเพื่อถามหาความชัดเจนอย่างแน่นอน 


ล่าสุดการแชร์ภาพผ่าน Instagram และติด Hashtag OneEyeOneHelp มียอดแชร์เกือบ 50,000 ครั้งไปแล้ว และไม่มีทีท่าว่าการแชร์ภาพดวงตาและติด Hashtag ดังกล่าวจะหยุดลงได้ ทั้งที่ทางทีมงานผู้จัดโครงการนี้ได้ประกาศยุติโครงการอย่างเป็นทางการแล้ว กลายเป็นกระแสจดหมายลูกโซ่ผ่าน Social Media ในโลกยุคดิจิตอลที่น่าจับตามอง ว่าจะจบลงเมื่อใด

OneEyeOneHelp

อัพเดท 23/03/2014 เวลา 21.24 น.
โพสท์ล่าสุดของ @pikularoon ใน Instagram ของ @mmmami ได้แจ้งว่ามาจดหมายอย่างเป็นทางการจาก KIS International School แล้ว และโพสท์ใน #OneEyeOneHelp

OneEyeOneHelp
การที่ทาง KIS International School เพิ่งออกจดหมายชี้แจงกรณีโครงการ One Eye one Help
ซึ่งก็เป็นไปตามความคาดหมายว่าทาง KIS international School คงกำลังหาทางออกและข้อยุติที่ดีที่สุดสำหรับกรณีนี้ เพื่อไม่ให้เด็ก ๆ เจ้าของโครงการต้องได้รับผลกระทบจากกระแส Social Media จนหมดกำลังใจในการทำความดี

OneEyeOneHelp
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่ติดตามเรื่องราวของโครงการ One Eye One Help  ตั้งแต่แรก จนได้รับความกระจ่างจะเข้าใจในเจตนาที่ดีของน้อง ๆ นักเรียน ถึงแม้จะบกพร่องในเรื่องของการสื่อสารจนทำให้เกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม

กิจกรรมดี ๆ ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ดำเนินการก็ตาม ความชัดเจนถือเป็นเรื่องที่ต้องมาควบคู่ไปกับเจตนาที่ดี เพื่อไม่ให้สังคมตั้งคำถาม สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นกับโครงการ One Eye One Help น้อง ๆ นักเรียนคงได้ประสบการณ์ที่ดีและมีค่าไปแล้ว

ปัจจุบัน การแชร์ภาพดวงตาและติด Hashtag #OneEyeOneHelp ก็ยังดำเนินไปเรื่อย ๆ จนมียอดการแชร์เกิน 50,000 โพสท์แล้ว เพราะมีอีกหลาย ๆ คนที่ยังไม่ทราบความจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการนี้ รวมไปถึงการยุติกิจกรรมลงไปแล้วหลังจากที่มีการแชร์ภาพครบ 10,000 ภาพ

จะเป็นการดีหากทุกท่านร่วมกันนำเสนอความจริงและสะท้อนถึงเจตนาอันดีของเด็กนักเรียนกลุ่มนี้ รวมไปถึงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้และการยุติลงของโครงการ One Eye One Help และบอกต่อ ๆ กันไปในโลก Social เพื่อให้การแชร์ภาพดังกล่าวยุติลง และปิด Case Studies ที่สำคัญของการใช้ Social Media ในการระดมเงินบริจาคอีกเคสหนึ่งลง





คนไทยใจดี กับกระแสทำบุญและการระดมทุนผ่านสื่อออนไลน์ OneEyeOneHelp

คนไทยใจดี กับกระแสทำบุญและการระดมทุนผ่านสื่อออนไลน์ OneEyeOneHelp


คำกล่าวที่ว่าเมืองไทยเมืองพุทธ คนไทยใจดี คนไทยชอบทำบุญ คนไทยชอบช่วยเหลือคนอื่น เป็นคำกล่าวที่มักจะได้ยินอยู่บ่อย ๆ
จึงเห็นขอทานมีอยู่ทั่วไปเป็นเรื่องชินตา ตั้งแต่อยู่ในสภาพพิการร่างกายไม่สมประกอบ
หรือบางคนดูแล้วก็ไม่ได้ผิดแผกแตกต่างจากคนธรรมดาทั่วไปแต่อย่างใด 
ไม่ก็เป็นแม่อุ้มลูกเล็ก ๆ บางครั้งเห็นเป็นเด็กอ่อนตัวแดง ๆ อยู่ด้วยซ้ำ 
หรือกระทั่งเด็กอายุไม่กี่ขวบซึ่งควรอยู่ในโรงเรียนมากกว่ามานั่งขอทานแบบนี้ 
บางคนร้องเพลงแลกเงิน หรือขายของเล็ก ๆ น้อย อันนี้ไม่อยากเรียกว่าขอทาน  
เพราะถือว่าพวกเขาทำงานแลกกับเงิน โดยที่ไม่ได้แบมือขอฟรี ๆ 

เครดิตภาพจากมูลนิธิกระจกเงา
หลาย ๆ ครั้งอดตั้งคำถามในใจไม่ได้ว่า ขอทานเหล่านี้ เป็นอาชีพหรือเป็นธุรกิจของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่ เพราะถือเป็นธุรกิจที่แทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย 
แถมข่าวตำรวจจับกุมแก๊งค์ขอทานมีให้ได้ยินบ่อย ๆ 
ตัวเลขรายได้ของแก๊งค์ขอทานเหล่านี้ได้ยินแล้วต้องหูผึ่ง เพราะมากกว่าเงินเดือนทั้งเดือนที่เราตั้งใจทำงานอย่างหนักหลายเท่าตัว 

ยิ่งในโลคยุคดิจิตอลที่สื่ออินเตอร์เนทและ Social ต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
จึงเห็นการระดมทุนผ่านทาง facebook, Instagram, Twitter อยู่บ่อย ๆ หรือแม้กระทั่งเวปไซต์ยอดนิยมอย่าง pantip.com ก็มีการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นคนหรือน้องหมาน้องแมว นับครั้งไม่ถ้วน แต่ก็มีหลายครั้งที่มิจฉาชีพใช้ความใจดีและช่องโหว่บางประการหลอกลวงและกอบโกยหาผลประโยชน์ใส่ตัวเอง แต่ในที่สุดก็หนีความจริงไม่พ้น ถูกจับได้และนำความจริงมาเปิดโปง และก็มีจุดจบและบทลงเอยแตกต่างกันไปตามแต่กรรมและวาระของแต่ละคน 
คนที่เล่น pantip.com เป็นประจำ อาจจะเคยผ่านตามาแล้วหลาย ๆ เคส จนไม่ต้องยกเรื่องนี้เป็นตัวอย่างให้ช้ำใจอีก เพราะมีให้เห็นเป็นดราม่าอยู่เสมอ ๆ พล็อตเดิม ๆ แต่เปลี่ยนตัวละคร 

คนใจดีหลายคนใน pantip.com ถึงขั้นเข็ดขยาดและหวาดระแวงที่จะทำบุญ หรือหากจะทำบุญครั้งใดก็มีการเช็คข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบมากขึ้น เรียกว่าเจ็บแล้วจำ แต่ก็ยังอยากช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน ในขณะที่ก็มีอีกส่วนหนึ่งที่บอกว่าทำบุญไปไม่ได้หวังอะไรอยู่แล้ว อยากให้ดูที่เจตนา ส่วนคนที่มาขอรับบริจาคจะเอาไปทำดีทำชั่วอย่างไร อันนั้นก็สุดแล้วแต่กรรมเก่า  จึงทำให้มิจฉาชีพยังแฝงตัวอยู่ในสังคมได้ และคอยหาโอกาสฉกฉวยผลประโยชน์ให้กับตัวเอง 

ล่าสุด มีกระแสการระดมเงินบริจาคผ่าน Instagram ผ่าน hashtag OneEyeOneHelp  โดยการถ่ายภาพดวงตาแล้วแชร์ใน Instagram ซึ่ง 1 ภาพ จะแปลงเป็นเงินบริจาค 10 บาท โดยโปรเจคนี้เริ่มขึ้นเมื่อ 4 วันที่แล้ว ผ่าน Instagram  @mmmami ซึ่งอ้างว่าเป็นโปรเจค Community and Service ของกลุ่มนักเรียนเกรด 8 จากโรงเรียนนานาชาติเคไอเอส (วันที่้เขียน blog นี้คือ 21/3/2014 เวลาประมาณห้าโมงเย็น) 

OneEyeOneHelp

OneEyeOneHelp
เพียงไม่นานโปรเจคนี้ก็ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม มีการถ่ายภาพดวงตาและแชร์โดยติด hashtag OneEyeOneHelp มากกว่าหนึ่งหมื่นภาพ ณ ปัจจุบัน เรื่องทำบุญขอให้บอก คนไทยเราใจดีและอยากมีส่วนร่วมอยู่แล้ว 


ทีนี้มีหลายคนตั้งข้อสังเกตุว่าแล้วเงินบริจาคจะมาจากไหน?????

โดยส่วนตัว มีความสนิทสนมกับคุณ ปี่ Digital Marketing Manager ของทางแสนสิริ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จอย่างสูงในแง่ของการทำ Digital Marketing  โดยคุณปี่ ได้ให้ความเห็นว่า โปรเจคนี้ฟังดูแล้วไม่ชอบมาพากลตั้งแต่แรก เพราะแชร์ 1 รูป สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ถึง 10 บาท ขนาด คุณตัน @Ichitan ยังให้แค่ like ละ 1 บาท โอกาสและความเป็นไปได้ในแง่ของแบรนด์ใหญ่ ๆ ที่จะสนับสนุนมีน้อยมาก เพราะขาดความชัดเจน

และพอมีคนตั้งคำถามใน Instagram ของ @mmmami ก็ไม่ได้รับคำตอบที่แน่ชัดถึงที่มาของเงินสนับสนุนโครงการนี้
OneEyeOneHelp

วันนี้ตัวผมเองและทางทีมงานของ catmint.in.th เกิดใจตรงกัน เลยโทรเข้าไปที่ KIS International School เพื่อสอบถามความแน่ชัดของโปรเจคนี้

ลองไปฟังคลิปเสียงที่ทีมงาน catmint.in.th ได้ทำการบันทึกไว้นะครับ เป็นบทสนทนากับอาจารย์ฝ่ายประสานงานของทาง KIS 


ซึ่งหลังจากฟังแล้วก็พบกับความไม่ชัดเจนของคำตอบ และยังคลุมเคลืออยู่ว่าโปรเจคนี้มีจริงหรือไม่? 

ในขณะที่ผมโทรไปเวลาประมาณบ่ายโมง ก็ได้รับคำตอบใกล้เคียงกัน คือความไม่ชัดเจนของโครงการ ซึ่งทาง KIS International School แจ้งว่าไม่ใช่โปรเจคของทาง KIS International School แต่เป็นโปรเจครายวิชาของทางนักเรียนซึ่งตอนนี้ กำลังเข้าเรียนอยู่และจะจบชั่วโมงประมาณบ่าย 3 ทาง KIS International School เองไม่สามารถให้คำตอบอะไรได้ ต้องรอสอบถามจากตัวนักเรียนเอง ผมจึงได้แจ้งไปว่าตอนนี้โปรเจคนี้ได้รับการเผยแพร่ไปทั่ว และเป็นกระแสโด่งดังใน Instagram เพราะดารา นักร้อง หลายคนก็ร่วมโพสท์รูปดวงตาและติด hashtag OneEyeOneHelp  แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ตั้งข้อสงสัยว่าแหล่งเงินบริจาคของโครงการนี้จะมาจากไหน เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงหรือเพียงการสร้างกระแสใน Social ของนักเรียนเพียงไม่กี่คน บางคนตั้งคำถามหนักถึงขั้นสงสัยว่าเด็กนักเรียนเหล่านี้จะฮุบเอาเงินบริจาคไปเป็นของตนเองหรือไม่ 


พอตอนบ่าย 3 อาจารย์ท่านเดิมของ KIS International School  ติดต่อกลับมา โดยใช้เบอร์ 02-2743450 พร้อมชี้แจงว่าโปรเจคนี้เป็นเหมือนโครงงานของนักเรียนในคลาส Community and Service ซึ่งจะให้เด็กมีโอกาสลองทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง 
และพอถามถึงเรื่องที่มีของแหล่งเงินสนับสนุนจากการแชร์ภาพ กลับไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน 

OneEyeOneHelp

ผมจึงแจ้งความประสงค์ที่จะขอทราบรายละเอียดของโครงการ เนื่อจากหลาย ๆ คนตั้งข้อสงสัยกับโปรเจคนี้ว่าเข้าข่ายหลอกลวงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการเล่นสนุกของเด็กไม่กี่คน 
หลังจากนั้นไม่นาน Instagram ของ @mmmami ก็ขึ้นภาพที่เห็นด้านล่าง พร้อมกับขอบคุณและแจ้งว่าโปรเจคนี้บรรลุวัตถุประสงค์ได้เร็วเกินความคาดหมาย ทั้งที่ก่อนหน้านี้เมื่อมีการถามถึงที่มาของแหล่งเงินทุนกลับไม่มีคำตอบแต่อย่างใด และไม่เคยมีการแจ้งถึงเป้าหมายของกิจกรรมนี้ว่าจำกัดอยู่ที่จำนวนภาพที่แชร์ทั้งหมดกี่ภาพ

OneEyeOneHelp

ทางผมเองได้สอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติมผ่านอาจารย์ฝ่ายประสานงานของ KIS แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบใด ๆ  เข้าใจว่าทาง KIS International School ไม่น่าจะรู้เรื่องโปรเจคนี้ และเป็นเหมือนโปรเจคที่นักเรียนทำในชั้นเรียนเท่านั้น 

เมื่อคาดคั้นถึงความชัดเจนของโครงการ และแหล่งที่มาของเงินบริจาค ในที่สุดทาง KIS ก็แจ้งว่าไม่สามารถให้คำตอบอะไรได้ ต้องรอคำตอบจากทางนักเรียนที่เป็นเจ้าของโปรเจค ซึ่งจะสามารถติดต่อกลับมาทางผมได้ในวันจันทร์ที่ 24 มีนาคม 2557 

เข้าใจว่าทาง KIS International School กำลังหาทางออกและจุดจบที่สวยงามให้กับทางนักเรียนที่เป็นเจ้าของโครงการนี้ อาจจะเป็นเพียงโปรเจคทดลองที่ทำกันขึ้นมาเล่น ๆ ในชั้นเรียน แต่ปรากฎว่าได้รับผลตอบรับอย่างล้นหลาม และเป็นกระแสในโลกโซเชียล และไม่แน่ว่าแหล่งเงินทุนสำหรับการบริจาคในโครงการนี้อาจจะเป็นเงินจากผู้ปกครองของเด็กนักเรียนเองก็ได้   

คงต้องรอจนถึงวันจันทร์ เพื่อพูดคุยกับน้องนักเรียนเจ้าของโปรเจค ถึงจะได้ทราบความจริงของโครงการนี้

บางคนอาจบอกว่าไปจับผิดทำไม ในเมื่อเด็กก็หาเงินไปทำเรื่องดี ๆ เงินที่ได้ก็จะนำไปบริจาคให้สถานสงเคราะห์บ้านเด็กอ่อนพญาไท ขอชี้แจงไว้ ณ ทีนี้ว่าไม่ได้จับผิด แค่อยากได้ความชัดเจน เพราะเชื่อว่าคนไทยยินดีช่วยเหลืออยู่แล้ว 

แต่ไม่อยากให้มิจฉาชีพใช้วิธีเดียวกันนี้เป็นช่องทางทำมาหากินและลอยนวลอยู่ในสังคมไทยอยู่

หรือโปรเจคนี้จะเป็นเหมือนกับการขอ like ทาง Facebook ของเด็ก ๆ ที่เป็นเพียงการเล่นสนุก ๆ บ้างก็เพื่อให้ผู้ปกครองซื้อของเล่นให้ หรือบางคนขอ Like เพื่อให้เมียปล่อยให้ไปเที่ยวกลางคืนได้ก็มี

กระแสโซเชียลมันเร็วและลามไว บางทีทำอะไรอาจต้องคิดเยอะ ๆ
  





ESCAPE Hotel Huahin โรงแรมสวย บรรยากาศสงบร่มรื่น ในแบบฉบับ SANSIRI Hotel Collection

วันนี้มีโรงแรมใหม่ที่หัวหินมาแนะนำ
โรงแรมนี้เป็น 1 ใน 2 โรงแรมของ SANSIRI Hotel Collection (อีกโรงแรมอยู่ที่เขาใหญ่ ในชื่อ ESCAPE เหมือนกัน) 
จะว่าใหม่ สด ซิง เลยทีเดียวก็ไม่เชิง เพราะเป็นการรีโนเวทโรงแรม Casa Del Mare
แต่รีโนเวทใหม่ซะจำเค้าโครงโรงแรมเดิมไม่ได้เลย

ธีมหลักของโรงแรมจะเป็นสีแดงอิฐ
ในส่วนของล็อบบี้มีโคมไฟที่ทำมาจากเครื่องจักสาน สีสันสดใส และมีงานสังกะสีรูปปลาชิ้นใหญ่ รวมไปถึงผนังโมเสค ให้กลิ่นไอทะเล


 





ในส่วนของห้องพัก อุปกรณ์ที่ให้มาก็ครบครัน มาตรฐานโรงแรมทั่วไป 
เปิดห้องเข้ามาตอนแรกจะมีเสียงเพลงเบา ๆ เปิดไว้ทักทาย
หาที่มาของเสียงอยู่พักนึงจึงรุ้ว่ามาจากลำโพงไม้ที่อยู่ใต้ชั้นวางโทรทัศน์
ที่สำคัญระเบียงกว้างขวาง เหมาะกับการนั่งจิบเบียร์เย็นๆชิลๆ ดูวิวสระว่ายน้ำ

 




ชอบกระเป๋าผ้ากระสอบที่เอาไว้ใส่ของใช้ตอนเดินลงไปหาดทราย
สวยซะจนอยากเอากลับมาใช้ที่กรุงเทพ


ห้องน้ำเป็นแบบกึ่งซีทรู เป็นกระจกใสรับแสงสว่างธรรมชาติ
แต่จะมีผนังของตึกกั้นไว้อีกชั้น ทำให้ด้านนอกไม่สามารถมองเข้ามาได้
มีการแบ่งแยกโซนเปียก-แห้ง และ Rain Shower น้ำไหลแรงมาก




มีการวางถาด Welcome ไว้บนเตียง
ในถุงกระดาษมีครองแครงกรอบและกล้วยกวน อร่อย เคี้ยวเพลินดี



ห้องอาหารของโรงแรมชื่อว่า Red Coral ก็จะมีการตกแต่งในธีมสีแดงเหมือนกับชื่อห้องอาหาร
สะดุดตาไปกับโคมไฟเครื่องจักสานสีแดงบนเพดาน 
ในส่วนของอาหารเช้า ถึงจะไม่ได้อลังการล้านแปด แต่ก็มีให้เลือกครบครัน 
ประทับใจข้าวต้มซีฟู้ด ที่กุ้งและหมึกมาเป็นชิ้นเบ้อเริ่ม
และหมูปิ้งเจ้าเด็ดของหัวหินที่นี่ก็เอามาเสิร์ฟรวมกับเมนูอาหารเช้า หอม วาน เหนียว นุ่ม กำลังดี
สมกับเป็นร้านดังเมืองหัวหิน
แถมกาแฟที่เสิร์ฟที่ ESCAPE ก็เป็นกาแฟสูตรพิเศษที่คิดค้นขึ้นมาเป็นเฉพาะ โดยใช้ส่วนผสมจากเมล็ดกาแฟอาราบิก้าของจังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นการส่งเสริมเกษตรกรไทยอีกทาง













สระว่ายน้ำที่นี่กว้างใหญ่ ว่ายน้ำกันได้เพลิน ๆ ไปถึงตอนค่ำกันเลย
พอมืดแล้วเปิดไฟตรงสระน้ำก็สวยไปอีกแบบ
 และถึงจะไม่ติดทะเล แต่ก็เดินไปได้แค่ชั่วอึดใจเท่านั้นเอง






ประทับใจที่สุดของที่นี่คือการบริการของพนักงาน ตั้งแต่ Check in มีการเสริ์ฟน้ำดื่มเย็น ๆ ให้ชื่นใจ และมีผ้าเย็นให้เช็ดเหงื่อคลายร้อน จนกระทั่งตอน Check out พนักงานยิ้มแย้มแจ่มใส บริการด้วยใจ ถามร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ก็แนะนำอย่างเต็มใจ








 ทางโรงแรมมีกิจกรรมให้ร่วมกิจกรรมถ่ายรูป เช็คอิน และแชร์ภาพผ่าน Social โดยติด Hashtag #Escapehotels #Escapehuahin #Escapekhaoyai แค่นี้ก็ได้อร่อยชื่นใจไปกับ ESCAPE Ice Cream สูตรเฉพาะจากเชฟมิชชาลีน แถมมีให้เลือกหลายรส


จะไปพักแนะนำจองล่วงหน้า ทั้งผ่านเวปไซต์โรงแรม http://www.escape-hotel.com/huahin/th/ หรือจองผ่าน www.agoda.com จะได้ราคาพิเศษ 2,xxx บาทรวมอาหารเช้า



ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกดี ๆ สำหรับคนที่ต้องการไปพักผ่อนที่หัวหิน และดื่มด่ำไปกับความเงียบสงบของโรงแรม สมกับชื่อ ESCAPE จริง ๆ